วันที่ 10 มิ.ย. 63 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด พิจารณาขยายเวลาการมาตรการปรับลดอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ไปจากเดิมที่จะสิ้นสุดในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อลดค่าครองชีพด้านการเดินทางให้กับประชาชน
- ดีเดย์ 5 มิ.ย. “รถไฟฟ้า BTS”เปิดสถานีใหม่ส่วนต่อขยาย ขึ้นฟรี 4 สถานี !!
- เผยโฉม “รถไฟฟ้าล้อยางไร้คนขับ” ขบวนแรกถึงไทย 10 มิ.ย. นี้
- “บีทีเอส” ปรับรูปแบบการเดินรถ เปิดส่วนต่อขยาย “หมอชิต-วัดพระศรีฯ” เริ่ม 5 มิ.ย.นี้
- “MRT” เพิ่มขบวนรถในชั่วโมงเร่งด่วน อำนวยความสะดวกผู้โดยสาร
หากพิจารณาเห็นว่ายังรับภาระได้ ให้ขยายเวลาการปรับลดอัตราค่าโดยสารทันที แต่ถ้ารับภาระไม่ไหวแล้ว ก็อาจพิจารณาขอสนับสนุนเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (PSO) จากรัฐบาล หากรัฐบาลไม่มีเงินให้ก็อาจจำเป็นต้องหยุดมาตรการลดค่าโดยสาร ซึ่งต้องให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนมิถุนายนนี้
นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แอร์พอร์ตลิงก์ ทำหนังสือไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อเสนอขอขยายเวลาการปรับลดอัตราค่าโดยสารออกไปอีก 3 เดือน คือ ระหว่างกรกฎาคม – กันยายน 2563 จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 28 มิถุนายน 2563
โดยเป็นไปตามนโยายของนายศักดิ์สยาม ที่ต้องการลดภาระค่าครองชีพและอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน โดยรฟท.จะเสนอให้ที่ประชุมประชุมบอร์ด รฟท.พิจารณาอนุมัติในวันที่ 18 มิถุนายน 2563 นี้
สำหรับมาตรการปรับลดค่าโดยสารในช่วงที่ผ่านมา ส่งกระทบทำให้รายได้เราลดลงไม่มากเฉลี่ยเดือนละ 3.5 แสนบาท คาดว่า บอร์ดการรถไฟจะอนุมัติตามที่เสนอแน่นอน เนื่องจากมาตรการดังกล่าวช่วยลดภาระให้ประชาชนได้มาก โดยเฉพาะการลดค่าโดยสารช่วงออฟพีค จะตอบโจทย์การเดินทางของผู้โดยสารในช่วงมีปัญหาการแพร่ระบาดโควิดได้มาก เพราะขณะนี้องค์กรต่างๆมีการปรับเวลาการทำงานให้มีการเหลื่อมเวลา ซึ่งก็จะตรงกับช่วงการเดินทางออฟพีคพอดี
มาตรการลดค่าครองชีพของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ คือการปรับลด ค่าโดยสาร นอกช่วงเวลาเร่งด่วน (Off Peak Hour) วันจันทร์–วันศุกร์ ใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 05.30–07.00 น. , 10.00–17.00 น. และ 20.00–24.00 น. ให้แก่ผู้โดยสารที่ถือบัตรสมาร์ทพาสประเภทบุคคลทั่วไป (Adult Card) จากอัตราค่าโดยสารปกติ 15–45 บาท เหลือ 15-25 บาท โดยจะคิดอัตราค่าโดยสารสถานีแรก 15 บาท สถานีที่สอง 20 บาท และสถานีที่ 3 เป็นต้นไปคิดค่าโดยสาร 25 บาท
อย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ (รฟม.) เปิดเผยว่า วันที่ 11 มิถุนายน บอร์ด รฟม.จะประชุมพิจารณาว่าจะขยายระยะเวลา มาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงออกไปอีกหรือไม่ โดย รฟม.จะนำเสนอข้อมูลผลดีผลเสียจากมาตรการปรับลดค่าโดยสาร ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามาตรการลดค่าโดยสารสายสีม่วงไม่ได้ช่วยกระตุ้นให้ผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19
นอกจากนี้ ยังทำให้รายได้จากค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีม่วงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปกติก่อนมีมาตรการลดค่าโดยสาร รฟม. มีรายได้วันละ 1 ล้านบาท หลังจากมีมาตรากรลดราคาค่าโดยสารรายได้ลดลงเหลือวันละ 5 แสนบาท และล่าสุดในช่วงที่ประสบปัญหาโควิด-19 รายได้ลดลงเหลือวันละ 5 หมื่นบาทเท่านั้น ซึ่งรฟม.จะขยายเวลาปรับลดค่าโดยสารออกไปอีกหรือไม่ เป็นอำนาจการตัดสินใจของบอร์ด รฟม.
สำหรับมาตรการลดค่าโดยสารรถฟ้าสายสีม่วง คือปรับลดค่าโดยสาร จาก 14-42 บาทต่อเที่ยว เหลือ 14-20 บาท หรือ 20 บาทตลอดสาย