เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากรฯ จัดเก็บภาษีอี-เซอร์วิส (e-Service) หรือการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศที่ไม่มีบริษัทลูกในประเทศไทย เป็นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากดิจิตอลแพลตฟอร์มในต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทยซึ่งก่อนหน้านี้ได้เรียกว่าภาษี e-Business
- “ครม.” มีมติ ต่ออายุ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน ถึง 30 มิ.ย.
- ครม. ไฟเขียว “การบินไทย” ยื่นศาลล้มละลายฟื้นฟูกิจการ – พ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ’
- ครม.เห็นชอบ ร่างกฏฯเพิ่มเงินสมทบ “กองทุนบำเหน็จบำนาญ” เป็นอัตราร้อยละ 2′
- ครม.ประกาศ วันที่ 4 ธ.ค.ของทุกปีเป็น “วันรู้รักสามัคคี”
โดยปัจจุบันมีเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ดาวน์โหลดหนัง เพลง เกมส์ จองโรงแรมจากแพลตฟอร์มต่างประเทศโดยไม่เสียมูลค่าเพิ่มซึ่งมีการยืนยันว่าจะไม่เป็นภาระให้กับผู้ใช้บริการ โดยคาดว่าจะสร้างรายได้ให้รัฐเพิ่มขึ้น 3,000 ล้านบาทต่อปี
ซึ่งกฎหมายจัดเก็บภาษี e-Service มีดังนี้
-แก้ไขเพิ่มเติมให้การดําเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใด ตามประมวลรัษฎากรสามารถดําเนินการด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
-แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคําว่า “สินค้า” และเพิ่มบทนิยามคําว่า “บริการทางอิเล็กทรอนิกส์” และคําว่า “อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม”
-แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศแก่ผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคํานวณจากภาษีขายโดยไม่ให้หักภาษีซื้อ และกําหนดให้ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์มมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์
-แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของผู้จ่ายเงินในการนําส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม และหน้าที่ ของผู้ประกอบการในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ จากต่างประเทศแก่ผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน
-กําหนดให้การดําเนินการทางทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกระทําโดย กระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
-กําหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ให้บริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศออกใบกํากับภาษี