เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 63 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบก ได้เผยแพร่ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 22/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามคำสั่ง ณ วันที่ 12 พ.ค. 2563 โดยระบุว่า
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทัวราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคมพ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้มีประกาศขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น
- ราชกิจจาฯประกาศ ปลดนามสกุลดัง “ณ ป้อมเพ็ชร” จากบุคคลล้มละลาย
- ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ “เคอร์ฟิวทั่วประเทศ” ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด
- “ราชกิจจานุเบกษา” ประกาศคำสั่งนายกฯ ผ่อนปรนกิจกรรม-สถานประกอบการ เริ่ม ๓ พ.ค. นี้
เพื่อให้การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ดำเนินการไปโดยเป็นลำดับขั้นตอน ตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกและผลการประเมินสถานการณ์ทางด้านสาธารณสุขเพื่อให้สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติได้อย่างเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒ วรรคสองของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๒๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
องค์ประกอบ
(๑) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หัวหน้าสำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 ประธาน
(๒) รองผู้บัญชาการทหารบก (พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์) รองหัวหน้าสำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 รองประธาน
(๓) รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย รองประทาน
(๔) ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 กรรมการ
(๕) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรรมการ
(๖) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประชาชน กรรมการ
(๗) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์ กรรมการ
(๘) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กรรมการ
(๙) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศและการดูแลคนไทยในต่างประเทศ กรรมการ
(๑๐) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร กรรมการ
(๑๑) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา กรรมการ
(๑๒) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการด้านการควบคุมสินค้า กรรมการ
(๑๓) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา กรรมการ
(๑๔) ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
(๑๕) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
(๑๖) ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด กรรมการ
(๑๗) ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร กรรมการ
(๑๘) ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร กรรมการ
(๑๙) นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการ
(๒๐) นายสันติธาร เสถียรไทย กรรมการ
(๒๑) รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย กรรมการและเลขานุการร่วม
(๒๒) พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ กรรมการและเลขานุการร่วม
(๒๓) เจ้าหน้าที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
(๒๔) เจ้าหน้าที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
(๒๕) เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ
(๑) ประเมินสถานการณ์ วิเคราะห์ กลั่นกรอง รวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะทางวิชาการ และข้อเสนอของภาคส่วนต่าง ๆ และจัดทำแนวทางผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการ
ในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในทุกห้วงระยะเวลา ๑๔ วัน เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
(๒) จัดทำร่างข้อกำหนดเพื่อผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการตาม (๑) รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติสำหรับกิจการหรือกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
(๓) ประสานการดำเนินการกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องตลอดจนเชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็นหรือส่งเอกสารหลักฐานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
(๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 มอบหมาย
ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามคำสั่งนี้เป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ ๒๕๔๘
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป