จากกรณีที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเพิ่มการจ่ายเงินประกันสังคม กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 จาก 62% ของเงินเดือน แต่ไม่เกินเพดาน 15,000 บาท เป็น 75%
- ประกันสังคม ลดเงินสมทบ-ขยายเวลานำส่งเงิน ผู้ประกันตนมาตรา 33,39
- ประกันสังคมไม่ทิ้ง ผู้ประกันตนมาตรา 39 – 40 คุ้มครองเจ็บป่วยโควิด-19
- “ประกันสังคม” เยียวยาลูกจ้าง โดนสั่งหยุดงานจากวิกฤตโควิด-19 จ่ายชดเชย 50%
- กรมการจัดหางานช่วยผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 จ้างทำงานที่บ้าน วันละ 300 บาท
นางอรุณี ศรีโต กรรมการบอร์ดประกันสังคม ฝ่ายลูกจ้าง ออกมาชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวว่า บอร์ดประกันสังคมมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นด้วยที่จะเพิ่มการจ่ายเงินเป็น 75% เนื่องจากหวั่นผลกระทบในอนาคต เงินในกองทุนประกันสังคมเริ่มร่อยหรอแล้ว ซึ่งที่ทำอยู่ขณะนี้คือรัฐบาลกำลังผลักภาระให้กับสำนักงานประกันสังคม
นางอรุณี ระบุว่า เข้าใจว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานห่วงใย แต่ต้องนึกถึงผู้ใช้แรงงานและนายจ่ายซึ่งเป็นเจ้าของเงิน และมีรัฐบาลช่วยเพียงเล็กน้อย ฉะนั้นต้องฟังเสียงเจ้าของสิทธิคือผู้ประกันตนทั้ง 15 ล้านคน วอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอย่าทำให้กระบวนการแรงงานไม่สบายใจและมีความรู้สึกว่าใช้อำนาจเกินเลย ไม่อย่างนั้นแรงงานอาจจะออกมาต่อว่าแล้วเกิดความไม่สบายใจ เพราะกระบวนการแรงงานถือว่ามีสิทธิชอบธรรมในการปกป้องเงินกองทุนประกันสังคม

กองทุนว่างงานมีเพียงแค่ 160,000 ล้านบาท และมีกองทุนอื่น ๆ ที่เป็นเข่งใครเข่งมัน แล้วจะบอกว่าเข่งนั้นเหลือเยอะแล้วนำมาใช้ก่อนไม่ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นในส่วนของดอกผลกองทุนก็ไม่อยากให้ไปยุ่งเกี่ยว เพราะคาดหวังว่าเงินในส่วนนี้จะช่วยให้คนที่ทำงานมาชั่วชีวิตได้รับเงินบำนาญเพิ่มมากขึ้น