ก่อนหน้านั้นมีกระเเสข่าวมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่เมื่อรักษาหายเเล้ว พบว่าผู้ป่วยกลับมาติดเชื้ออีกครั้ง หลายคนตั้งข้อสงสัยถึงสาเหตุว่าเกิดจากอะไรกันเเน่ ? เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กชี้เเจงการตรวจพบเชื้อโควิด-19 เเม้รักษาหายจากโรคเเล้วก็ตาม
- นักวิจัยจีนพบ โควิด-19 กลายพันธุ์ โอกาสแพร่ระบาดสูงกว่า
- ตะลึง! ไวรัสโคโรนา สามารถอยู่บนหน้ากากอนามัยนาน 7 วัน
- เช็คอาการติดเชื้อโควิด-19 หากสูญเสียการได้กลิ่นควรรีบพบเเพทย์
โดยระบุรายละเอียดดังนี้ “
โควิด-19 การตรวจพบเชื้อหลังจากหายจากโรคแล้ววิธีการตรวจด้วย RT-PCR มีความไวสูงมากทางศูนย์ที่ผมทำงานอยู่ร่วมกับกทมและศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ทำการตรวจในรายที่หายจากโรคแล้วเป็นจำนวนมาก พบว่า ในบางรายอาจพบชิ้นส่วนของ RNA ไวรัส ถึงแม้ว่าจะหายแล้วอย่างดี และเกิน 30 วันแล้วด้วยบางรายตรวจไม่พบ
แล้วมาตรวจพบก็ไม่ใช่เรื่องแปลกการตรวจพบชิ้นส่วน RNA ไวรัส ไม่ได้บอกว่าไวรัสนั้นยังคงสภาพเป็นไวรัสทั้งตัว ที่สามารถติดต่อได้การศึกษาในเกาหลี หรือ ในประเทศจีน ก็พบได้เช่นเดียวกันพบได้นานถึง 45 วันและมีบางรายที่ตรวจไม่พบแล้ว มาตรวจพบอีก ก็ไม่ได้หมายความว่ามีการติดเชื้อซ้ำ
ปกติแล้วเยื่อบุทางเดินหายใจเราจะมีการหลุดลอกอยู่แล้ว การเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจกว่าจะหลุดลอกออกมาใช้เวลาเป็นเดือนเดือน ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่จะมีการตรวจพบ RNA ไวรัสหลังจากหายแล้วในปัจจุบันการศึกษาก็พบว่า ชิ้นส่วนที่หลุดออกมาของไวรัสเป็นเพียงส่วนของไวรัสไม่สามารถที่จะติดต่อโรคได้
การตรวจพบก็ไม่ใช่เรื่องแปลก การพบใหม่หลังจากที่ตรวจไม่พบก็ไม่ใช่เป็นการติดเชื้อใหม่ จึงขอให้ทุกท่านและผู้ป่วยที่หายแล้วถึงแม้จะยังตรวจพบอยู่ก็ขอให้สบายใจได้ ไม่ใช่การติดเชื้อเรื้อรังหรือการเป็นใหม่เป็นของเดิมที่ยังค้างอยู่นั่นเอง
- “หมอยง” เชิญชวนผู้ที่หายป่วยโควิด-19 บริจาค “พลาสมา” ทำเซรุ่มรักษาโรค
- “หมอยง” แนะหลักปฏิบัติ 4 ข้อ ที่ต้องทำ หยุดการลุกลามของ “โควิด-19”
- ขอบคุณเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan