จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 ว่าที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีมติต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินขยายไปอีก 1เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 พ.ค. 63 และเลื่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ในเดือน พ.ค. 63 เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้มากขึ้นและป้องกันการระบาดในระลอกที่ 2 ทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่ามีการอนุมัติการขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินเรียบร้อยแล้ว
- นายกฯ ต่อ พรก.ฉุกเฉิน ห้ามออกจากบ้านถึง 31 พ.ค.63
- กทพ. ประกาศห้ามเครื่องบินทุกชาติเข้าไทย ถึง 31 พ.ค. 63
- พิษโควิด-19 ปากกา LANCER ประกาศปิดกิจการชั่วคราว
- สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 27 เม.ย.63 ในไทยพบผู้ติดเชื้อต่ำกว่าหลักสิบ
ล่าสุด ทางด้านกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ได้เปิดเผยว่า ข่าวเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั้งหลาย เป็นแนวคิดที่เสนอในที่ประชุม ศบค. โดยทั้งหมดต้องผ่านที่ประชุม ครม. ในวันที่ 28 เม.ย. จึงจะเป็นทางการ ขอให้ประชาชนรอฟังแถลงการณ์จากภาครัฐเพื่อความชัดเจนแน่นอนของข้อมูล
อย่างไรก็ตาม แนวคิดการขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้ มี 4 มาตรการ คือ ควบคุมห้ามบุคคลออกจากเคหสถานในช่วงเวลาเคอร์ฟิว ชะลอเคลื่อนย้ายคนในต่างจังหวัด งดดำเนินกิจกรรมคนหมู่มาก ส่วนการผ่อนปรนมาตรการ ยังคงมาตรการทำงานที่บ้าน ร้อยละ 50 ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม(Social Distancing) มีการวัดอุณหภูมิในสถานที่ทำงาน การล้างมือ มีเจลบริการเพื่อฆ่าชื้อ จำกัดจำนวนคน และมีแอปพลิเคชันติดตามตัว