Home ข่าวสังคม ผลทดลองวัคซีนฆ่าโควิด-19 ใช้ฟ้าทะลายโจร ได้ผล !!
ข่าวสังคมข่าวโควิด-19

ผลทดลองวัคซีนฆ่าโควิด-19 ใช้ฟ้าทะลายโจร ได้ผล !!

ผลทดลองวัคซีนฆ่าโควิด-19 ใช้ฟ้าทะลายโจร ได้ผล !!

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 63 ดร.สุภาพร ภูมิอมร ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เปิดเผยผลการวิจัยของคณะแพทย์ จุฬาฯ และคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ที่ร่วมกันทดลองวิจัยพัฒนาวัคซีนทดลองฆ่าไวรัสโควิด-19 ในสัตว์ทดลอง โดยทางสถาบันชีววัตถุได้ทดลองใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการฆ่าเชื้อฯ ในหลอดลดลอง 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1. นำเอาฟ้าทะลายโจรมาใส่ไปในเซลล์เพาะเลี้ยง หรือเซลล์เป้าหมายและอบตามอุณหภูมิห้อง 37 องศาเซลเซียส ผลปรากฏว่าไม่สามารถทำลายไวรัสได้ ดังนั้นวิธีนี้แสดงให้เห็นว่าการทานยาฟ้าทะลายโจรเพื่อป้องกันการเกิดไวรัสโควิด-19 ไม่สามารถทำได้

วิธีที่ 2. นำฟ้าทะลายโจรไปร่วมกับไวรัส แล้วเอาไวรัสไปอยู่ในกลุ่มเซลล์เป้าหมาย พบว่า สามารถฆ่าไวรัสโควิด-19 ได้

วิธีที่ 3. เอาเซลล์ผสมกับฟ้าทะลายโจรและไปฆ่าไวรัส พบว่า สามารถฆ่าไวรัสโควิด-19 ได้เช่นกัน โดยสารสหัดในฟ้าทะลายโจร Semi solid medium ฆ่าไวรัสได้ทันที

ดังนั้น ผลการทดลองเบื้องต้น เมื่อไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว ฟ้าทะลายโจรมีผลฆ่าไวรัสโควิด-19 ได้โดยตรง และทำให้ไวรัสไม่เพิ่มจำนวนในเซลล์ โดยหลังจากนี้คงต้องทำการทดลองต่อเนื่องต่อไป

วิธีกินฟ้าทะลายโจร

ขณะที่ด้าน นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยว่า หลังจากที่มีการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองได้ผลว่าฟ้าทะลายโจรสามารถฆ่าไวรัสโควิด-19 ได้นั้น ทางกรมแพทย์แผนไทยฯ ได้ร่วมกับสถาบันบำราศนคราดูร กรมควบคุมโรค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และองค์การเภสัชกรรม ในการศึกษาผลของย่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาดสูงต่อผู้ป่วยโรคโควิด-19 ระดับความรุนแรง

โดยใช้เวลา 4 เดือน ในการจะทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 จะได้รับยาแคปซูลสารสกัดฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 60 มก. หรือ 3 เท่าของขนาดปกติ วันละ 3 ครั้ง นาน 5 วัน ส่วนกลุ่มที่ 2 จะได้รับยาแคปซูลสารสกัดฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 100 มก. หรือ 5 เท่าของขนาดปกติ วันละ 3 ครั้ง นาน 5 วัน ซึ่งผลลัพธ์หลังการวิจัยที่ต้องดำเนินการนเพื่อศึกษาว่าความรุนแรงของอาการโรคโควิด-19 ก่อนและหลัง รับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร รวมถึงดูการเปลี่ยนแปลงของ Pro-inflammatory Cytokines ในเลือดก่อนและหลังรับประทานยา การเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลในเลือด ความถี่และความรุนแรงไม่พึงประสงค์

หมวดหมู่