เมื่อวันที่ 16 เม.ย. 63 ในเพจ “โพควา โปรดักชั่น” ได้เปิดเผยข้อมูลการอัตราแลกเปลี่ยน ระหว่างข้าวสารของชาวชุมชนกะเหรี่ยงทางภาคเหนือ กับ ปลาทะเลของชาวเลชุมชนราไวย์ จังหวัดภูเก็ต หรือแนวคิด “ข้าวแลกปลา” ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า ความเป็นมาของเรื่องนี้มาจากจุดเริ่มต้นของสถานการณ์ที่ทั้งสองแห่งกำลังเผชิญอยู่
นั่นคือการที่ชุมชนกะเหรี่ยงทางภาคเหนือ กำลังประสบปัญหาไฟป่าที่กำลังเผาไหม้ลุกลามไปในหลายพื้นที่ ส่งผลให้พืชพันธุ์การเกษตรและบ้านเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่บนเขาได้รับความเดือดร้อนและต้องเร่งดับไฟป่าที่เกิดขึ้น ขณะที่พวกเขากำลังขาดแคลนอาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป แต่มีข้าวสารจากไร่หมุนเวียนเพียงพอในการดำรงชีพและมีมากพอที่จะนำแลกเปลี่ยน
- ผู้ว่าฯกระบี่ ประกาศคนติดเชื้อโควิด-19 ให้ 500 บาท
- “กรมราชทัณฑ์” สั่งพักโทษผู้ต้องขัง 8,000 ราย ลดความแออัดในเรือนจำ
- เช็คเลย ! “47 จังหวัด” ประกาศห้ามขายเหล้า – เบียร์
ส่วนทางด้านชาวเลชุมชนราไวย์ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมีความต้องการข้าวสาร จำนวน 243 ครัวเรือน ซึ่งชาวเลมีต้นทุนเรื่องการหาปลาจากทะเล สามารถทยอยออกเรือหาปลามาแปรรูปเป็นปลาแห้งหรือปลาเค็ม จึงเป็นที่มีของโครงการแลกเปลี่ยนข้าวและปลา การแบ่งปันเกื้อกูลกันบนฐานความคิดเศราฐกิจเชิงวัฒนธรรม ตามหลัก P2P – People to People และ Producer to Producer
โดยผู้ก่อตั้งโครงการนี้คือ ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ อาจารย์สาขาการจัดการภูมิวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครนทรวิโรฒ ซึ่งกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนข้าว+ปลา คือ ปลาแห้งจากทะเลอันดามัน 2 กิโลกรัม นำมาแลกข้าวจากไร่หมุนเวียน 15 กิโลกรัม หรือ 1 ถัง
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองชุมชนกำลังระดมข้าวและปลาเพื่อให้พร้อมจัดส่งภายในเดือนเมษายนนี้ หรือเร็วที่สุดเพื่อให้ทันต่อความต้องการของทั้งสองชุมชน
- “ร.พ. รือเสาะ” งดให้บริการผู้ป่วยทั่วไป หลังคนไข้ปกปิดป่วยโควิด-19
- ทีมแพทย์รพ.รามาฯ รักษาผู้ป่วยวิกฤติโควิด-19 หายกลับบ้านได้แล้ว
- “52 มหาวิทยาลัย” ลดค่าเทอม-ผ่อนชำระ -ตั้งกองทุน ฝ่าวิกฤตโควิด-19
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : โพควา โปรดักชั่น