ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีประชาชนที่เข้ามารับการตรวจหรือรักษาที่โรงพยาบาลจำนวนมาก ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีประชาชนบางส่วนปกปิดข้อมูลที่จำเป็นและเป็นประวัติส่วนบุคคลของตน
- ทช. ประกาศปิดถนนเชื่อม เชียงใหม่-เชียงราย-พะเยา สกัดโควิด-19
- เช็คเลย ! “47 จังหวัด” ประกาศห้ามขายเหล้า – เบียร์
- “ราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย” ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว 150 พระองค์
ส่งผลให้บุคคลดังกล่าวไม่ได้รับการตรวจหรือการรักษาตามมาตรการและกระบวนการที่ถูกต้องและทันการณ์ จนเป็นเหตุให้โรคโควิด-19 แพร่ระบาดออกไป และส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล รวมถึงบุคคลที่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับบุคคลดังกล่าวมีความเสี่ยงจะติดเชื้อโควิด-19
จากสถานการณ์ดังกล่าว กรมการแพทย์จึงมีความห่วงใยต่อสุขภาพของประชาชนที่จะต้องได้รับการตรวจหรือรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรการและกระบวนการป้องกันการติดเชื้อ ตลอดจนตระหนักถึงความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ซึ่งอาจติดเชื้อจากการให้บริการการตรวจ หรือการรักษาพยาบาลผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19
แต่ปกปิดข้อมูลที่จำเป็นและประวัติส่วนบุคคลของตน กรมการแพทย์จึงขอให้ประชาชนที่เข้ารับการตรวจหรือรักษา แจ้งข้อมูลที่จำเป็นและประวัติส่วนบุคคลของตน เช่น ประวัติการเดินทาง ประวัติการทำงาน ประวัติการสัมผัสผู้ป่วย หรือ พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้ติดเชื้อโรค ต่อบุคลากรทางการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลให้ครบถ้วนและถูกต้องตามความเป็นจริง
กรณีที่บุคคลใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อบุคลากรทางการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลของรัฐ และเป็นเหตุให้ผู้อื่น หรือประชาชนเสียหาย จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ