ก่อนหน้านั้น นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ได้ออกมาเปิดเผยว่า ครม.ได้อนุมัติจ่ายเงินเยียวยา จำนวน 5 พันบาท ในโครงการเราไม่ทิ้งกัน จากเดิมจ่าย 3 เดือน ได้เพิ่มเป็น 6 เดือน จนถึงเดือนกันยายน 2563 นั่นเท่ากับว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะได้เงินเยียวยาจาก 15,000 บาท เป็น 30,000 บาท
- ครม.อนุมัติจ่ายเงิน 5 พัน “เราไม่ทิ้งกัน” เพิ่มเป็น 6 เดือน
- วิธีเช็คสิทธิ์ “เราไม่ทิ้งกัน” ผ่านเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
- คนไม่ผ่านเกณฑ์ “เราไม่ทิ้งกัน” รอ SMS เเจ้งเตือน 9 เม.ย.
- เปิดวิธี ยกเลิกเราไม่ทิ้งกัน อย่างละเอียดใครกรอกข้อมูลเท็จรีบเเก้ไขด่วน
- ปรับเวลาลงทะเบียนใหม่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
เเต่ล่าสุด นายอุตตม สาวนายน ได้ออกมาโพสต์ชี้เเจงถึงกรณีจ่ายเงินเยียวยาจาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน อาจจะจ่ายได้เเค่ 3 เดือนก่อน อีก 3 เดือนหลังรอดูสถานการณ์โควิด-19 ว่าจะยืดเยื้อเเค่ไหน ” เนื่องจากเรายังไม่รู้ว่าสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 จะสิ้นสุดลงเมื่อใด จึงจำเป็นต้องบริหารจัดการให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์
ดังนั้นในระยะแรก จึงจะมีการเยียวยาในช่วง 3 เดือนก่อน ส่วนหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ก็สามารถขยายระยะเวลาเพิ่มเติมได้อีกตามความเหมาะสม ในทางกลับกันหากสถานการณ์จบก่อน ก็สามารถยุติการเยียวยาได้เช่นกัน ดังที่ผมอธิบายไปว่าตัวเลขระยะเวลา 6 เดือนนั้น เป็นการตั้งกรอบระยะเวลางบประมาณ
โดยประมาณการรายจ่ายเป็นรายเดือน ซึ่งสามารถปรับระยะเวลายืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ โดยเงินเยียวยานี้อยู่ภายใต้เม็ดเงินจาก พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นก้อนงบประมาณเพื่อเยียวยา 6 แสนล้านบาท และก้อนงบประมาณเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก 4 แสนล้านบาท
ทั้งนี้เป้าหมายของมาตรการเยียวยานั้น กระทรวงการคลังต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่มีความจำเป็นต้องช่วย และให้ครอบคลุมมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่ได้รับมาตรการช่วยเหลืออื่นๆของรัฐอยู่แล้ว ก็ขอให้ท่านเหล่านั้นใช้สิทธิ์เดิมที่มีอยู่ เช่น กลุ่มประกันสังคมตาม ม. 33 เป็นต้น ขณะเดียวกันหากมีกลุ่มใดนอกเหนือจากนี้ เห็นว่าจำเป็นต้องช่วยเหลือ ก็จะมีมาตรการออกมารองรับได้อีก”
- ขอบคุณเฟซบุ๊ก ดร.อุตตม สาวนายน