เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 63 ในเพจ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้เปิดเผยการเพิ่มมาตราการช่วยผู้ประกันตน ผู้ใช้แรงงาน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดย ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ผลักดันมาตรการฯและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดต่อผู้ประกันตน ผู้ใช้แรงงาน กระทรวงแรงงาน จึงผลักดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีรวม 2 ครั้ง ในวันที่ 24 มี.ค. 63 และ 31 มี.ค. 2563 โดยสรุปมาตรการทั้งหมดได้ดังนี้
1.ลดอัตราเงินสมทบ นายจ้าง เหลือร้อยละ 4 ผู้ประกันตนมาตรา 33 เหลือร้อยละ 1 และผู้ประกันตนมาตรา 39 เหลือ 86 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค. – พ.ค. 63)
2. ขยายระยะเวลานำส่งเงินสมทบ ของนายจ้าง และ ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39
สำหรับงวดเดือน มีนาคม – พฤษภาคม ออกไปอีก 3 เดือน
– ค่าจ้าง เดือน มีนาคม 2563 ให้นำส่งภายใน 15 กรกฎาคม 2563
– ค่าจ้าง เดือน เมษายน 2563 ให้นำส่งภายใน 15 สิงหาคม 2563
– ค่าจ้าง เดือน พฤษภาคม 2563 ให้นำส่งภายใน 15 กันยายน 2563
- “ประกันสังคม” เยียวยาลูกจ้าง โดนสั่งหยุดงานจากวิกฤตโควิด-19 จ่ายชดเชย 50%
- เช็คเลย ! “4 อาชีพ” ผ่านเกณฑ์ประเมินเยียวยา “เราไม่ทิ้งกัน” ได้รับเงิน 5,000 บ.
- คลังปล่อยสินเชื่อฉุกเฉิน ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เริ่มต้น 10,000-50,000 บาท
- วิธีลงทะเบียนว่างงาน นายจ้าง – ลูกจ้าง ที่ได้รับผลกระทบไวรัสโควิด-19 (COVID-19)
3. เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย กรณีผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานกักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย ให้ได้รับเงินว่างงานร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน
4. เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน ให้ผู้ประกันตนที่ลาออก ให้รับเงินกรณีว่างงานร้อยละ 45 ของค่าจ้างไม่เกิน 90 วัน และผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างรับเงินกรณีว่างงานร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 200 วัน ทั้งสองกรณีนั้น (บังคับใช้ 2 ปี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า มาตรการที่กล่าวมานั้นเป็นมาตรการเบื้องต้น ที่เร่งให้การช่วยเหลือและให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว แต่กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคมยังคงเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์เพื่อหาทางช่วยเหลือผู้ประกันตน ผู้ใช้แรงงาน อย่างต่อเนื่องต่อไป