เชื่อว่าได้เลยว่าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น กำลังส่งผลให้พวกเราทุกคนอยู่ในสภาพที่มีความเครียด และวิตกกังวล ไม่กล้าออกจากบ้าน รวมทั้งวิตกกังวลกับงานที่ไม่มั่นคง กังวลปัญหาครอบครัว หรือวิตกกังวลกับปัญหาเศรษฐกิจ
แต่เชื่อหรือไม่ว่าความวิตกกังวลมากเกินไป อาจจะไปกระตุ้นให้กลายเป็นโรควิตกกังวล ส่งผลการดำรงชีวิต รวมทั้งอาจรุนแรงจนกลายเป็นโรคทางจิตเวชได้ หากไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม ซึ่งนำไปสู่สัญญาณที่บ่งบอกสาเหตุว่า คุณกำลังวิตกกังวลมากจนเกินไป ลองมาเช็คอาการกันหน่อยว่าอาการที่แสดงว่าคุณเข้าสู่สภาวะของ โรควิตกกังวล เกินไปว่ามีอะไรกันบ้าง
- เช็คอาการไวรัสโคโรน่า ระยะเเรก คุณอาจติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว?
- เช็คเลย อาการเริ่มต้น COVID-19 คุณอยู่ในกลุ่มสุ่มเสี่ยงหรือไม่?
- เช็คอาการ COVID-19 สัญญาณเตือนติดเชื้อ พร้อมวิธีป้องกัน
- GDH ให้พนง.ที่ใกล้ชิด แพรวา ณิชาภัทร กักตัวดูอาการที่บ้าน
- กระสับกระส่าย หงุดหงิด
หากเริ่มมีอาการหวาดระแวง กังวล ไม่สบายใจ ไม่สามารถอยู่อย่างสงบได้ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หงุดหงิด จนทำให้การทำงาน หรือชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป ควรเริ่มตั้งสติ หายใจลึกๆ ผ่อนคลายร่างกาย พยายามคิดบวก หรือมองปัญหาในอีกมุมดู เผื่อจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นบ้าง - เหม่อลอย ไม่มีสมาธิ
จากที่เคยทำงาน หรือมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ชอบได้นานๆ แต่ช่วงนี้คุณรู้สึกว่าสมาธิสั้นลง ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งๆนั้นได้ เพราะมีความรู้สึกกังวลค้างอยู่ในใจ หรือบางทีคิดมากจนมีอาการเหม่อลอย ให้รีบดึงสติกลับมาด่วน แล้วลองมองให้ชัดเจนว่า ความวิตกกังวลของคุณมาจากอะไร แล้วค่อยๆ หาทางแก้ไขที่ละเปลาะด้วยใจร่มๆ เย็นๆ - ย้ำคิดย้ำทำ
ความวิตกกังวลที่ต่อเนื่อง อาจจะทำให้คุณเกิดอาการย้ำคิด ย้ำทำ ซึ่งจะพบบ่อยในคนวัยทำงาน เช่น ไม่แน่ใจว่าล็อคประตูบ้าน ล็อกรถหรือยัง จนต้องเดินกลับไปดู หรือคิดว่าตัวเองปากไม่สะอาด มือไม่สะอาด ทำให้ต้องล้างมือ หรือล้างปากวันละสิบรอบ แม้คุณอาจคิดว่าเรื่องเหล่านี้ไม่เป็นปัญหา แต่ขอรู้ไว้ว่า คุณกำลังมีอะไรในใจที่ทำให้วิตกังวลและควรหาทางแก้ไขโดยเร็ว - อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท
ผลจากความวิตกกังวลที่มากเกินไป ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย จนไปจนถึงนอนไม่หลับ ดังนั้น พยายามหาอะไรที่ชอบ หรือผ่อนคลายทำเพื่อลดความเครียดที่สะสมอยู่ และหลีกเลี่ยงการดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมทั้ง เครื่องดื่มชูกำลัง ที่อาจจะทำให้ตื่นตัวหรือ นอนไม่หลับมากขึ้น - กล้ามเนื้อตึง มือสั่น ใจสั่น
ความเครียด และความวิกตกกังวลที่มากเกินไป อาจจะมีผลต่อร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อที่คอ และหลังปวดตึงติดต่อกันเป็นเวลานาน เกิดอาการมือสั่น ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งถือว่า เป็นอาการที่เริ่มรุนแรง
หากเกิดอาการทั้ง 5 ข้อเหล่านี้ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ ควรไปปรึกษาแพทย์ หรือโทรไปขอคำแนะนำที่จากสายด่วนสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต โทร 1323