เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 63 พรรษา ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ น้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ จึงจัดทำชุดแบบอักษรพระราชทาน
“จุฬาภรณ์ลิขิต” (Chulabhorn Likit Font) และจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติชุด “ศรีสวางควัฒน” เพื่อจารึกพระนามและพระเกียรติคุณ เผยแพร่พระประวัติ พระปรีชาสามารถและพระกรณียกิจ รวมถึงเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศและเฉลิมพระอิสริยศักดิ์เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
- “สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี” เสด็จไปรับการถวายการตรวจพระกร ณ รพ.จุฬาภรณ์
- ในหลวง-ราชินี พระราชทานรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย จำนวน 13 คัน
- “ในหลวง – พระราชินี” พระราชทาน “ห้องตรวจหาเชื้อ” แก่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เป็นแห่งที่ 12
โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดงานแถลงข่าว ณ ห้อง The Exhibition Gallery บ้านปาร์คนายเลิศ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563
ชุดแบบอักษรพระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” (Chulabhorn Likit Font) มีแนวคิดการออกแบบตัวอักษรจากดอกกล้วยไม้พันธุ์ Phalaenopsis “Princess Chulabhorn” ที่มีความงดงามอ่อนช้อย สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพระจริยวัตรอันงดงาม พระปรีชาและพระเกียรติคุณที่ทรงได้รับการยกย่องในระดับนานาชาติ ดังนี้
1.พระนาม กรมพระ “ศรีสวางควัฒน” แสดงถึงพระอุตสาหะในการบำเพ็ญพระกรณียกิจสำคัญอันดีเด่น โดยเฉพาะด้านการแพทย์ด้วยพระนาม “ศรี” มีความหมายเป็นมงคล ความเจริญ ความรุ่งเรือง “สวางค” แปลว่า ร่างกายที่ดี ได้รับการบำรุงเป็น อย่างดี และ “วัฒน” แปลว่าความเจริญ ความงอกงาม อันเป็นที่มาแห่งตัวอักษรที่มีสัดส่วนสวยงาม สมบูรณ์แบบ
2.พระเกียรติคุณและรางวัลระดับนานาชาติที่ทรงได้รับอันเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Ecologist) รัฐบาลศรีลังกาน้อมเกล้าฯ ถวายกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง Phalaenopsis “Rose Miva” กับ Phalaenopsis “Kandy Queen”
เมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศศรีลังกาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยขอพระราชทานพระอนุญาตเชิญพระนามตั้งชื่อกล้วยไม้พันธุ์ใหม่นี้ว่า Phalaenopsis “Princess Chulabhorn” อันเป็นที่มาของตัวอักษรและการสร้างรูปทรงให้มีความงดงาม อ่อนช้อย เลียนแบบดอกและยอดอ่อนของกล้วยไม้พันธุ์นี้
3.โครงสร้างตัวอักษรเป็นแบบทางการ (Formality) ถูกต้องตามมาตรฐานตัวอักษรภาษาไทย เป็นตัวมีหัว มีปากและส่วนประกอบถูกต้องตามอักขรวิธี ไม่มีการตกแต่งหรือเติมลวดลายมากจนเกินไป โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์และสืบทอดภาษาและตัวอักษรไทย เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4.B = Benevolence หมายถึง พระเมตตา จากพระนาม ที่ราชวิทยาลัย จุฬาภรณ์น้อมเกล้าฯ นำมาใช้เป็นค่านิยมขององค์กร หนึ่งในตัวอักษร คือ B แทนคำว่า Bene volence ที่แปลว่า ความเมตตา มาสร้างสรรค์โดยใส่ขอบมนลงในตัวอักษร
เพื่อให้ได้แบบตัวอักษรที่มีความอ่อนโยน สื่อถึงพระเมตตาของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวาง ควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงมีต่อพสกนิกร ด้วยพระปณิธานแน่วแน่ในการเสริมสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ให้แก่ทรัพยากรบุคคลของไทย รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา
ชุดแบบอักษรพระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” พร้อมให้ประชาชนทั่วไปดาวน์โหลดได้ตั้งแต่บัดนี้ที่เว็บไซต์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ https://www.cra.ac.th/