เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 63 ในเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา (www.ratchakitcha.soc.go.th) ได้ประกาศกฎกระทรวง กำหนดอัตราเงินค่าทำศพ ในกรณีที่ผู้ประกันตนในประกันสังคมถึงแก่ความตาย โดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน พ.ศ. 2563 มีข้อมูลดังนี้
- ประกันสังคมไม่ทิ้ง ผู้ประกันตนมาตรา 39 – 40 คุ้มครองเจ็บป่วยโควิด-19
- “ประกันสังคม” เยียวยาลูกจ้าง โดนสั่งหยุดงานจากวิกฤตโควิด-19 จ่ายชดเชย 50%
- กรมการจัดหางานช่วยผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 จ้างทำงานที่บ้าน วันละ 300 บาท
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และมาตรา 73 (1) แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินค่าทำศพ พ.ศ. 2550
ข้อ 2 เงินค่าทำศพที่จ่ายให้แก่บุคคลตามมาตรา 73 (1) ในกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย โดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ให้กำหนดเป็นจำนวน 50,000 บาท
หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินค่าทำศพ ในกรณีที่ผู้ประกันตน ถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ขณะเดียวกันในเว็บไซต์ของประกันสังคม ได้เปิดเผย ข้อมูลประกันสังคมเพิ่มสิทธิ์ประโยชน์ กรณีตาย ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย โดยได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ดังนี้
ค่าทำศพ 50,000 บาท แก่ผู้จัดการศพ (ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 63)
เงินสงเคราะห์กรณีตาย
จ่ายให้กับบุคคลที่ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุสิทธิ์ให้ได้รับเงิน หากไม่มีหนังสือระบุจะนำมาเฉลี่ยจ่ายให้กับบิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตรในจำนวนเท่า ๆ กัน โดยจ่ายดังนี้
- ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จ่ายเงินเท่ากับค่าจ่างเฉลี่ย 2 เดือน
- ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบ ตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จ่ายเงินเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
โดยจ่ายให้ทายาผู้มีสิทธิสามารถขอรับประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 2 ปี