ในเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดยมีนายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เชิญชวนให้ประชาชนชมดาวศุกร์ที่จะปรากฏสว่างที่สุดในครั้งสุดท้ายของปี 2563 ช่วงเช้ามือตั้งแต่เวลาประมาณ 03.25 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 8 ก.ค. 63 ซึ่งชัดเจนจนสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ทางทิศตะวันออกบริเวณกลุ่มดาววัว
- ชม “จันทรุปราคาเงามัว” 5 ก.ค. นี้ แต่ไม่เห็นในไทย
- รอชม “จันทรุปราคาเงามัว” หลังเที่ยงคืน 5 มิ.ย. 63
- กองทัพอากาศ เตรียมยิงดาวเทียม “นภา-1” ขึ้นสู่อวกาศ 19 มิ.ย. นี้
สำหรับ “ดาวศุกร์” เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับที่ 2 ถัดจากดาวพุธ มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก เมื่อมองจากพื้นโลกเป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า หากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยว ควาหนาบางของเสื้อจะแตกต่างกันไปในแต่ละตำแหน่งของการโคจร และไม่สามารถเห็นดาวศุกร์สว่างเต็มดวงได้เลย
เราจะสังเกตเห็นดาวศุกร์บนท้องฟ้าได้ว่าอยู่ห่างจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47 องศา และสามารถเห็นได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นหรือหลังอาทิตย์ตกเท่านั้น ซึ่งดาวศุกร์ไม่เคยปรากฏอยู่กล่างท้องฟ้าหรือในเวลากลางคืน ส่วนในช่วงเวลาที่ปรากฏก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น คนไทยจะเรียกดาวศุกร์ว่า “ดาวประกายพรึก” นั่นเอง