สำหรับการรับชมสุริยุปราคาและจันทรุปราคาที่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย ในปี 2563 ไปแล้วถึง 3 ครั้ง ได้แก่ จันทรุปราคาเงามัว ในวันที่ 11 ม.ค. 63 จันทรุปราคาเงามัว 6 มิ.ย. 63 และสุริยปราคาวงแหวน 2 มิ.ย. 63 สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับประชาชนที่ได้ชมเป็นอย่างมาก และมีผู้รอชมพร้อมถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกโพสต์
- รอชม “จันทรุปราคาเงามัว” หลังเที่ยงคืน 5 มิ.ย. 63
- กองทัพอากาศ เตรียมยิงดาวเทียม “นภา-1” ขึ้นสู่อวกาศ 19 มิ.ย. นี้
- เชิญชม ! “สุริยุปราคาบางส่วน” ในวันครีษมายัน 21 มิ.ย. นี้
สำหรับในครั้งถัดไปนี้ จะเกิดจันทรุปราคาเงามัว 5 ก.ค. 63 แต่จะไม่เห็นในประเทศไทย ซึ่งการเห็นจันทรุปราคาครั้งนี้จะเห็นบริเวณ อเมริกาเหนือและใต้ ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป และแอฟริกา โดยดวงจันทร์จะมีความสว่างลดลงเพียงเล็กน้อย ทำให้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ยาก สำหรับช่วงเวลาที่เกิดขึ้นนั้น ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก ในเวลา 10.07 น. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด เวลา 11.30 น. และดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก เวลา 15.52 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่พลาดชมการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาไปแล้วในปีนี้ สามารถชมได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นจันทรุปราคาเงามัวครั้งสุดท้ายของปี พ.ศ. 2563 ได้ในวันที่ 30 พ.ย. 63 ซึ่งประเทศไทยจะเห็นได้ในช่วงท้ายขณะดวงจันทร์ขึ้น แต่ความสว่างของจันทร์เพ็ญลดลงเพียงเล็กน้อย โดยจะเริ่มเกิดในช่วงเวลา 14.32 น. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด เวลา 16.42 น. และดวงจันทร์จะพ้นจากเงามัวของโลก ในเวลา 18.53 น.
- จับตา ! “ซูเปอร์ฟูลมูน” ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี 8 เม.ย. นี้
- ห้ามพลาด ! ปรากฏการณ์ “ดาวเคียงเดือน” รับปีใหม่ไทย 15 – 16 เม.ย.นี้
- หมดโควิดมีเฮ!!! ททท. แจกเงินไปเที่ยว 2 มาตราการ “กำลังใจ-เที่ยวปันสุข”
ข้อมูลจาก : NECTEC