ถึงเเม้สถานการณ์การเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลายหลังไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศ 31 วันเเล้ว เเต่ทว่ารัฐบาลยังคงมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด พร้อมควบคู่กับประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งเเต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา
- ค้นหาคำตอบ ! “พรก.ฉุกเฉิน” VS “เคอร์ฟิว” แตกต่างกันอย่างไร?
- นายกฯ ประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน เริ่ม 26 มี.ค.
- ระวังหยุดยาว 4-7 ก.ค. ช่วงอันตรายทำโควิด-19 หนัก – เผยกลุ่มเสี่ยง!!
เเละสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ก็จะหมดอายุการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯอเเล้ว ล่าสุด ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ออกมาเผยว่า ศบค.ชุดเล็ก มีมติให้ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปอีก 1 เดือน ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2563
ทั้งนี้ก็เพื่อการผ่อนปรนเฟส 5 ที่เป็นกิจการ-กิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งเปิดโรงเรียนและสถานบริการ โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ชุดใหญ่ ในวันที่ 29 มิถุนายน เพื่อให้พิจารณาต่อไป
สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ประจำวันที่ 25 มิถุนายน พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1 ราย รักษาหายกลับบ้านได้เเล้ว 12 ราย ยังรักษาตัวในโรงพยาบาล 62 ราย เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมรวม 3,158 ราย