การจัดสรรเงินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นส่วนสำคัญในการรักษาสถานะการเงินที่ยั่งยืน ด้วย เทคนิคต่าง ๆ ในบทความนี้ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการการเงินอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเป้าหมาย วางแผนการใช้จ่าย หรือการสร้างกองทุนฉุกเฉิน การเข้าใจและประยุกต์ใช้เทคนิคเหล่านี้ จะทำให้พร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ค่าใช้จ่ายคงที่
เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือนและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (หรือยากที่จะเปลี่ยนแปลง) มักจะเป็นจำนวนเงินที่เฉพาะเจาะจง
ตัวอย่าง
- ค่าเช่าบ้านหรือค่าผ่อนบ้าน จำนวนเงินที่ต้องจ่ายทุกเดือนสำหรับที่พักอาศัย
- ค่าผ่อนรถ เมื่อซื้อรถด้วยวิธีผ่อนชำระ
- ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์
- ค่าเงินเดือนของพนักงาน ถ้าเป็นนายจ้างหรือมีธุรกิจส่วนตัว
เมื่อรู้ค่าใช้จ่ายคงที่ในชีวิตประจำวัน จะทำให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างเป็นระบบ หากมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ (เช่น การย้ายบ้าน การขายรถ) เราต้องปรับแผนการเงินให้ตรงกับสถานะการเงินที่เปลี่ยนแปลง
ค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลงได้
คือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน การดำเนินกิจกรรม หรือสถานการณ์ต่าง ๆ
ตัวอย่าง
- ค่าอาหาร เปลี่ยนแปลงตามการเลือก
- ค่าน้ำมันรถ จะเปลี่ยนแปลงตามราคาน้ำมัน และระยะทางที่ขับ
- ค่าช้อปปิ้ง การซื้อเสื้อผ้า ของใช้ หรือสินค้าต่าง ๆ
- ค่าพักผ่อนและความบันเทิง เช่น การไปดูหนัง การเที่ยวท่องเที่ยว
- ค่าบริการทางการแพทย์ ตามความเจ็บป่วยหรือการตรวจสุขภาพประจำปี
- ค่าซ่อมบำรุง เช่น ค่าซ่อมรถ ค่าซ่อมบ้าน
- ค่าโทรศัพท์มือถือ ในกรณีที่คุณใช้โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน
การเข้าใจค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลงได้และวางแผนการจัดสรรเงินสำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จะช่วยให้สามารถควบคุมการใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น
การออม
เป็นส่วนหนึ่งของการใช้จ่ายประจำเดือน สำหรับการวางแผนและสร้างอนาคตที่มั่นคงทางการเงิน โดยมองเงินที่ออมเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองในอนาคต โดยการกำหนดสัดส่วนเงินสำหรับการออมในธนาคาร กองทุนรวม หุ้น หรือการลงทุนอื่น ๆ
ข้อควรระวัง ในการจัดสรรเงินเพื่อการออม ควรให้ความสำคัญกับการสร้างกองทุนฉุกเฉินก่อน ซึ่งเป็นเงินที่สำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น การพักงาน ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะกรณี
สำรองเงินสำหรับเหตุฉุกเฉิน
หรือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ตกงาน โรคร้าย การเจ็บป่วย การซ่อมบำรุงรถหรือบ้าน การเกิดภัยพิบัติ หรือความไม่แน่นอนอื่น ๆ
ขั้นตอน
- ประเมินรายจ่ายประจำเดือน เพื่อกำหนดว่าต้องเก็บเงินสำรองเพื่อเหตุฉุกเฉินเท่าไร
- กำหนดเป้าหมายสำหรับจำนวนเงินที่ต้องการสำรอง เช่น 200,000 บาท
- เริ่มจัดสรรเงินเล็ก ๆ ประจำเดือนเพื่อสะสมในบัญชีกองทุนสำหรับเหตุฉุกเฉิน
- ควรเลือกบัญชีที่สามารถถอนเงินได้ง่าย และไม่มีค่าธรรมเนียม
- จัดสรรเงินเพื่อแยกจากเงินใช้จ่ายประจำวัน และพยายามไม่ใช้เงินนี้ในสิ่งที่ไม่ใช่เหตุฉุกเฉิน
- ตรวจสอบและประเมินอย่างสม่ำเสมอ ปรับจำนวนเงินเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในรายจ่ายหรือสถานการณ์การเงิน
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อเป้าหมายที่ต้องการในอนาคต เช่น การซื้อบ้าน การศึกษาของลูก หรือการเตรียมเงินสำหรับการเกษียณ
สรุป
วิธีการจัดสรรเงินของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ วัย รายได้ และความต้องการในชีวิต แต่ในท้ายที่สุด การจัดสรรเงินที่เหมาะสมจะช่วยให้สามารถบริหารการเงินของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ เป็นการสร้างสถานะการเงินที่ยั่งยืน